บทความประเภทคอมพิวเตอร์
หลายๆคนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้า “คอมพิวเตอร์”ที่มีประโยชน์มากมายและมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันไม่ว่าจะมองไปที่ใดในสำนักงาน หน่วยงายต่างๆพร้อมทั้งในสถานศึกษาซึ่งคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในการเรียนการสอนแต่คอมพิวเตอร์ก็จำกัดประเภทเช่นกันเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานและการเรียนการสอน ไปรู้จักประเภทของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีดังนี้
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความเร็วในการทำงานและมีประสิทธิภาพสูง นิยมใช้งานในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น ในห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการบิน หรืองานกราฟฟิกที่ซับซ้อน อย่างในการสร้างภาพยนต์เรื่องไดโนเสาร์ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงมากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงานอ(workstation) หรือเครื่องหมายปลายทาง (Terminal) มากกว่า 100 แห่ง มักใช้กับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเบิกจ่ายเงินเอทีเอ็ม (ATM = Automatic Teller Machine) สายการบิน ในการบันทึกการบิน การสำรองที่นั่ง เป็นต้น
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) มีความสามารในการทำงานสูงกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกิจการขนาดย่อม เช่น โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น
เวิร์กสเตชัน (workstation) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้ส่วนบุคคล แต่เร็วและมีความสามารถมากกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีแนวโน้มการใช้สำหรับธุรกิจและวิชาชีพ เวิร์กสเตชัน และการประยุกต์ออกแบบ สำหรับการใช้โดยบริษัทขนาดเล็กด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม, การออกแบบกราฟฟิก หรือส่วนบุคคลที่ต้องการไมโครโพรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า มีขนาด RAM มาก และส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่น graphics adapter ความเร็วสูง, ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น พร้อมกับระบบปฏิบัติการ UNIX และผู้ผลิตเครื่องเวิร์กสเตชันชั้นนำ ได้แก่ Sun Microsystems, Hewlett-Packard, DEC และ IBM
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC= Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ หรือพีซีขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมากสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีหน่วย ความจำสูงไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเกือบกล่าวได้ว่ามีความสามารถเท่าหรือมากกว่า เมนเฟรมเมื่อ 20 ปีก่อน.
วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น