วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทความการศึกษากับสื่อมวลชน

บทความการศึกษากับสื่อมวลชน

ในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันที่สูงมากเพื่อให้ได้มายังความพึ่งพอใจของมนุษย์ เพราะความเจริญทางด้านวัตถุที่ครอบงำนี้ ทุกคนจึงค้นหาวิธีที่จะนำมาซึ่งความต้องการตอบสนองของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมเกี่ยวกับสิ่งที่ตนกระทำอยู่
การศึกษามีส่วนสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะสร้างประเทศให้เป็นที่ยอมรับของโลก และการศึกษาทุกวันนี้ก็ไม่ได้จำกัดความรู้อยู่กับแค่ครูผู้สอน กับห้องสี่เหลี่ยมในสถานศึกษาต่างๆเท่านั้น แต่หากจะเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาที่ไร้พรมแดนและการศึกษาก็ไม่มีวันสิ้นสุด โดยบทบาทสำคัญที่สุดคือการศึกษาด้วยตนเองที่เป็นที่นิยมในที่นี้ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ พร้อมทั้งสิ่งที่เข้ามาก็คือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่มีบทบาทในการศึกษาตอนนี้ ทำให้
ครูผู้สอนก็มีบทบาทลดน้อยถ้อยลงไปจากเดิม คุณภาพของคนอาจจะมีประสิทธิในด้านเทคโนโลยี
แต่ในทางกับกันด้านคุณธรรมของคนก็ลดน้อยถ้อยลงไปเป็นเงาตามตัวจนเกิดปัญหาต่างตามมา มองเห็นได้เลยจากข่าวพาดหัวตัวใหญ่ ของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ โทรทัศน์แต่ละช่องนั้นคือประเทศเจริญทางด้านวัตถุแต่ไม่มีคุณธรรมเลย! นั้นก็อาจจะพูดกวนได้เป็นประโยคที่พูดได้ติดปากของคนยุคนี้ ว่า “การศึกษาไม่ช่วยอะไรเลย” มันกำเนิดขึ้นแล้วตอนนี้
การศึกษากับสื่อมวลชนนั้นหากจะเดินทางคู่กันในด้านที่จะพัฒนาการศึกษาแล้วในด้านบวกก็คือ สื่อมวลชนควรที่จะนำเสนอ ข้อมูลความรู้ เกี่ยวการศึกษา ให้กับเยาชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาให้มากกว่านี้ และควรที่จะลดเรื่องละคร ฯลฯ น่าจะเป็นการดีที่สุด โดยอาจจะเป็นที่มาของการจัด “เร็ตติ๋ง”โทรทัศน์ ซึ่งคงจะไม่ได้ช่วยอะไรเลยหากผู้เปิดรับข่าวสารนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญจากตรงนี้ แม้แต่น้อย ซึ่งผลเสียก็ตามมาก็คือยกตัวย่างข้อเดียว พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก่อนวัยอันควรก็เกิดปัญหาเล็กๆจนสุดท้ายก็เตลิดเป็นปัญหาใหญ่โตในสังคมสุดท้ายก็”แม่ไม่ปลื้ม” จบ
หากผู้ที่เขียนมองแค่ปัญหาโดย ไม่นึกถึงของดีของเทคโนโลยี หรือสื่อมวลชนที่จะมาช่วยด้านการศึกษา คนที่อ่านแล้วทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ก็อาจรู้น้อยใจ ก็ขอให้อย่าคิดเช่นนั้น “การศึกษากับสื่อมวลชน”เดินทางไปด้วยกันได้กันอย่างสบายมาก หากแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญที่จะพัฒนาอย่างจริงจัง ทำให้ถูกวิธี ครูก็มีส่วนปลูกฝั่งการศึกษาก็มีคุณภาพ ประชาชนก็มีประสิทธิภาพ ประเทศก็เจริญเติบโต สื่อมวลชน ก็ทำหน้าที่เป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” เหมือนห่อหุ้มเกาะให้ประเทศชาติ ไม่ฟาดฟันกันเหมือน โดยเป็น “ดาบสองคม” ปัญหาที่เกิดก็น้อย และทุกคนก็มีคุณธรรมติดตัวรู้จักผิดชอบชั่วดีต่อตัวเองและสังคม

ไม่มีความคิดเห็น: