วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

พักเรื่องเรียนมาดูนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ







เรียนอาจารย์ประจำวิชา

เรียนอาจารย์ ผศ.รัฐกรณ์ คิดการ

เรื่อง ส่งงานบทความ ลงในบล็อค

เรียนอาจารย์ ประจำวิชานวัตกรรมการศึกษา นาย คฑาวุฒิ กาญจนทองนักศึกษา ป.บัญฑิต สาขาการศึกษา

ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปรายในห้องเรียนเรื่อง1.การศึกษากับสื่อมวลชน

2.ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา 3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4.ประเภทของคอมพิวเตอร์

5.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเขียนอ้างอิงข้อมูลมาจากทั้งหนังสือเรียนวิชานวัตกรรมการศึษาและแหล่งข้อมูลอื่น

ทั้งอินเทอร์เนต และห้องสมุด พร้อมทั้งตอนนี้ได้ทำการเผยแผ่บทความลง ในบล็อค ที่จัดทำขึ้นโดยใช้ชื่อว่า katawut77.blogspot.com ทั้งนี้ในส่วนของบล็อคที่จัดทำก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องรหัสผ่าน จึงเรียนอาจารย์มาเพื่อทราบและสะดวกในการตรวจงานบทความที่ใช้ชื่อบล็อคโดยกล่าวมาข้างต้นแล้ว


ด้วยความเคารพอย่างสูง



นายคฑาวุฒิ กาญจนทอง นักศึกษาป.บัญฑิต สาขาการศึกษา (ภาคปกติ) เลขที่7

ประวัตินายคฑาวุฒิกาญจนทอง นักศึกษา ป.บัณฑิต สาขาการศึกษา


นาย คฑาวุฒิ กาญจนทอง ชื่อเล่น เบนซ์ (เพื่อนเรียกแบงค์)

เกิด 29 สิงหาคม 2527 ที่อยู่ 52 หมู่ 8 ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ โทรศัพท์ 044-866116

ภูมิลำเน่า จังหวัดชัยภูมิ

การศึกษา ปริญญาตรี นิเทศศาสตร์( สาขาวารสารศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฎนคราชสีมา

ผลงานด้านกีฬา นักฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฎนคราชสีมา ชุด ฟุตบอลประเพณีครั้งที่39 พ.ศ.2546

นักฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฎนคราชสีมา ชุดกีฬาราชภัฏภาคอีสานที่จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2546

นักฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ชุดกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ศาลายาเกมส์) ม.มหิดล จังหวัด นครปฐม พ.ศ.2549

นักฟุตซอลมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ชุด อันดับสาม เหรียญทองแดง การแข่งขันกีฬานักศึกษาภาคอีสาน (ดอกจานบ้านเชียงเกมส์)

จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2550

ความรู้สึกเกี่ยวกับการศึกษา ป.บัณฑิต สาขาการศึกษานั้นได้รับควารู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาทั้งวิชาการและด้านปฎิบัติพร้อมที่จะนำไปใช้กับงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำความเข้าใจในทุกวิชาให้สอดคล้องกับเน้อหาวิชาที่จะนำไปฝึกประสบการณ์และทำงานในด้านการศึกษาต่อไปครับ

ขอบคุณอาจารย์




ขอบคุณครับสำหรับเนื้อหาวิชานวัตกรรมที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ทั้งด้านวิชาการและการปฎิบัติพร้อมทั้งด้านจริยธรรม ผมพร้อมที่จะนำไปใช้กับงานด้านการศึกษาให้เกิดการพัฒนาในด้านการเรียนของนักเรียน

บทความประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทความประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนมาก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการสอน หรือจะใช้เป็นสื่อช่วยในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนให้ทันยุคทันสมัยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะทังด้านการใช้ความคิด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งจำเป็นมากในสังคม ท่านผู้อ่านจะได้รูว่าประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีอะไรบ้าง ดังนี้
1. ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็ว
3. สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและน่าเร้าใจ ในการทำการฝึกปฏิบัติหรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
4. ครูผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
5. ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มความสนใจความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
6. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ คือ ในแง่ที่ลดเวลา ทุ่นแรงผู้สอนและประสิทธิผลในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
7. ด้านความรู้สึก ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองกำลังเรียนหรือกำลังพูดคุยกับใครคนหนึ่งที่มีความรู้สึกอารมณ์ขันมีความชอบไม่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากจะเรียนอยากทราบว่า เฟรมต่อไปจะเป็นอะไรถามว่าอย่างไรจะชมหรือติอย่างไร
8. บทเรียนคอมพิวเตอร์ดีกว่าสื่ออื่นในด้านความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
9. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้รายบุคคลได้ดีสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง
10. ความประหยัดในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการลงทุนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้งานได้หลายครั้งเป็นเวลายาวนานและถูกมากในการทำสำเนาบทเรียน
11. สามารถเก็บบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย
12. ให้โอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนาวัตกรรมสำหรับหลักสูตร และวัสดุการศึกษา
13. เพิ่มวิชาสอนตามความต้องการของนักเรียน
14. ช่วยให้มีเวลาสำหรับตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตร ตามหลักสูตรวิชาการ
15. ช่วยเพิ่มวัตถุประสงค์ของการสอนได้เท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การฝึกฟังดนตรี ฯลฯ
16. เร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดจน มีการเสริมแรงให้ผลย้อนกลับในทันที เมื่อผู้เรียนตอบคำถาม
17. ช่วยแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
ได้รู้ถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วหวังว่าคงจะได้รับความรู้เพื่อจะไปพัฒนาการเรียนการสอนหรือการเรียนของนักเรียนในปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาการศึกษาแน่นอน

บทความประเภทคอมพิวเตอร์

บทความประเภทคอมพิวเตอร์

หลายๆคนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้า “คอมพิวเตอร์”ที่มีประโยชน์มากมายและมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันไม่ว่าจะมองไปที่ใดในสำนักงาน หน่วยงายต่างๆพร้อมทั้งในสถานศึกษาซึ่งคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในการเรียนการสอนแต่คอมพิวเตอร์ก็จำกัดประเภทเช่นกันเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานและการเรียนการสอน ไปรู้จักประเภทของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีดังนี้
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความเร็วในการทำงานและมีประสิทธิภาพสูง นิยมใช้งานในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่น ในห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการบิน หรืองานกราฟฟิกที่ซับซ้อน อย่างในการสร้างภาพยนต์เรื่องไดโนเสาร์ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงมากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงานอ(workstation) หรือเครื่องหมายปลายทาง (Terminal) มากกว่า 100 แห่ง มักใช้กับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเบิกจ่ายเงินเอทีเอ็ม (ATM = Automatic Teller Machine) สายการบิน ในการบันทึกการบิน การสำรองที่นั่ง เป็นต้น
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) มีความสามารในการทำงานสูงกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกิจการขนาดย่อม เช่น โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น
เวิร์กสเตชัน (workstation) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้ส่วนบุคคล แต่เร็วและมีความสามารถมากกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีแนวโน้มการใช้สำหรับธุรกิจและวิชาชีพ เวิร์กสเตชัน และการประยุกต์ออกแบบ สำหรับการใช้โดยบริษัทขนาดเล็กด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม, การออกแบบกราฟฟิก หรือส่วนบุคคลที่ต้องการไมโครโพรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า มีขนาด RAM มาก และส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่น graphics adapter ความเร็วสูง, ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้น พร้อมกับระบบปฏิบัติการ UNIX และผู้ผลิตเครื่องเวิร์กสเตชันชั้นนำ ได้แก่ Sun Microsystems, Hewlett-Packard, DEC และ IBM
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) บางครั้งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC= Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ หรือพีซีขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมากสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีหน่วย ความจำสูงไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเกือบกล่าวได้ว่ามีความสามารถเท่าหรือมากกว่า เมนเฟรมเมื่อ 20 ปีก่อน.

บทความบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทความบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การที่จะทำงานหรือในเรื่องของการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอรมีหลายวิธีที่จะสื่อความหมายโดยเฉพาะบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายรูปแบบ นักวิชาการ และนักการศึกษาทั้งต่างประเทศและในประเทศได้แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ออกเป็นประเภทต่างๆ สรุปได้ดังต่อไปนี้
1.ใช้เพื่อการสอน (Teaching) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมเป็นการเรียนการสอนของครู กล่าวคือ จะมีบทนำ ( Introduction ) และมีคำอธิบาย(Explanation) ซึ่งประกอบด้วยตัวทฤษฎี กฎเกณฑ์ คำอธิบาย และแนวคิดที่จะสอน หลังจากที่นักเรียนศึกษาในแง่ต่าง ๆ แล้วมีการแสดงผลย้อนกลับ (Feedback) การกระทำของนักเรียนว่า ทำได้เพียงไรอย่างไรเพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูลในการเสริมความรู้ให้กับนักเรียนบางคนได้
2. ใช้ในการฝึกและปฏิบัติ (Drill and Practice) แบบการฝึกและแบบปฏิบัตินี้ส่วนใหญ่จะใช้เสริม เมื่อครูผู้สอนได้สอบบทเรียนบางอย่างแล้ว จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเพื่อวัดระดับหรือให้นักเรียนมาฝึกจนถึงระดับที่ยอมรับได้บทเรียนประเภทนี้ จึงประกอบด้วยคำถามคำตอบที่จะให้นักเรียนทำการฝึกและปฏิบัติ การเตรียมคำถามจึงจะต้องเตรียมไว้มากๆซึ่งผู้เรียนควรจะได้สุ่มขึ้นมาเองโดยสามารถจำคำตอบหรือแอบไปรู้คำตอบมาก่อน หรือจำได้จากการทำในครั้งแรก อาจต้องใช้หลักจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำและตื่นเต้นกับการทำแบบฝึกหัดนั้น ซึ่งอาจแทรกรูปภาพเคลื่อนไหวหรือคำพูดโต้ตอบรวมทั้ง อาจจะมีการแข่งขัน เช่นจับเวลา หรือสร้างรูปแบบให้ตื่นเต้นจากการมีเสียง เป็นต้น
3. สถานการณ์จำลอง (Simulations) โปรแกรมประเภทนี้ เป็นโปรแกรมที่จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของผู้เรียน โดยมีเหตุการณ์สมมติต่างๆ อยู่ในโปรแกรม และนักเรียนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือจัดกระทำ (Manipulate) ได้ สามารถมีการโต้ตอบ และมีตัวแปรหรือทางเลือกให้หลาย ๆ ทาง เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกได้อย่างสุ่มเพื่อศึกษาผลที่เกิดจากทางเลือกเดียวเหล่านั้น นอกจากนั้น ในบางบทเรียนการสร้างภาพพจน์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น การทดลองทางห้องปฏิบัติการในการเรียนการสอน จึงมีความสำคัญแต่หลายวิชาไม่สามารถทดลองให้เห็นจริงได้ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกปืนใหญ่ การเดินทางของแสง การหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือปรากฏการณ์ทางเคมีรวมทั้งชีววิทยาที่ต้องใช้เวลานานหลายวันจึงปรากฏผล ปัญหาเหล่านี้ สามารถใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบให้ผู้เรียนได้เห็นจริงและเข้าใจได้ง่าย

บทความความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
คำยอดฮิตของเทคโนโลยีนั้นคงมีหลายคนได้ยินหรือรับรู้ผ่านสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์หรือแม้กระทั้งอาจารย์ผู้สอนแล้ว “นวัตกรรม” อาจจะเป็นคำยอดฮิตแต่มีไม่น้อยสำหรับคนที่รู้ความหมายแท้จริงนั้นเป็นเช่นไรว่า นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาหมายถึงอะไร
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “ Innovation” แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา โดยคำว่า “นวกรรม” มาจากคำบาลีสันสฤต คือ “นว” หมายถึง ใหม่ และ “กรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติคำว่า “นวัตกรรม ” ได้มีนักการศึกษาให้ความหมายไว้มากมายหลายคน อาทิบุญเกื้อ ควรหาเวช (2543 : 14 - 15) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นถวัลย์ มาศจรัส (2548 : 48) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึงความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย
เชาวเลิศ เลิศโอฬาร และ กอบกุล สรรพกิจจำนง (2543 : 5) ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอน เทคนิคการสอน การบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด / สร้างขึ้นใหม่ หรือดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยสรุปตามปกติแล้ว
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ได้รู้ความหมายของคำยอดฮิตที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือ นวัตกรรมการศึกษาแล้วทุกๆคนคงหายสงสัยพร้อมที่จะรับมือกับการศึกษายุคใหม่โดยที่ไม่มีทางตกยุคของการศึกษาเลย

บทความการศึกษากับสื่อมวลชน

บทความการศึกษากับสื่อมวลชน

ในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันที่สูงมากเพื่อให้ได้มายังความพึ่งพอใจของมนุษย์ เพราะความเจริญทางด้านวัตถุที่ครอบงำนี้ ทุกคนจึงค้นหาวิธีที่จะนำมาซึ่งความต้องการตอบสนองของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมเกี่ยวกับสิ่งที่ตนกระทำอยู่
การศึกษามีส่วนสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะสร้างประเทศให้เป็นที่ยอมรับของโลก และการศึกษาทุกวันนี้ก็ไม่ได้จำกัดความรู้อยู่กับแค่ครูผู้สอน กับห้องสี่เหลี่ยมในสถานศึกษาต่างๆเท่านั้น แต่หากจะเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาที่ไร้พรมแดนและการศึกษาก็ไม่มีวันสิ้นสุด โดยบทบาทสำคัญที่สุดคือการศึกษาด้วยตนเองที่เป็นที่นิยมในที่นี้ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ พร้อมทั้งสิ่งที่เข้ามาก็คือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่มีบทบาทในการศึกษาตอนนี้ ทำให้
ครูผู้สอนก็มีบทบาทลดน้อยถ้อยลงไปจากเดิม คุณภาพของคนอาจจะมีประสิทธิในด้านเทคโนโลยี
แต่ในทางกับกันด้านคุณธรรมของคนก็ลดน้อยถ้อยลงไปเป็นเงาตามตัวจนเกิดปัญหาต่างตามมา มองเห็นได้เลยจากข่าวพาดหัวตัวใหญ่ ของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ โทรทัศน์แต่ละช่องนั้นคือประเทศเจริญทางด้านวัตถุแต่ไม่มีคุณธรรมเลย! นั้นก็อาจจะพูดกวนได้เป็นประโยคที่พูดได้ติดปากของคนยุคนี้ ว่า “การศึกษาไม่ช่วยอะไรเลย” มันกำเนิดขึ้นแล้วตอนนี้
การศึกษากับสื่อมวลชนนั้นหากจะเดินทางคู่กันในด้านที่จะพัฒนาการศึกษาแล้วในด้านบวกก็คือ สื่อมวลชนควรที่จะนำเสนอ ข้อมูลความรู้ เกี่ยวการศึกษา ให้กับเยาชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาให้มากกว่านี้ และควรที่จะลดเรื่องละคร ฯลฯ น่าจะเป็นการดีที่สุด โดยอาจจะเป็นที่มาของการจัด “เร็ตติ๋ง”โทรทัศน์ ซึ่งคงจะไม่ได้ช่วยอะไรเลยหากผู้เปิดรับข่าวสารนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญจากตรงนี้ แม้แต่น้อย ซึ่งผลเสียก็ตามมาก็คือยกตัวย่างข้อเดียว พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก่อนวัยอันควรก็เกิดปัญหาเล็กๆจนสุดท้ายก็เตลิดเป็นปัญหาใหญ่โตในสังคมสุดท้ายก็”แม่ไม่ปลื้ม” จบ
หากผู้ที่เขียนมองแค่ปัญหาโดย ไม่นึกถึงของดีของเทคโนโลยี หรือสื่อมวลชนที่จะมาช่วยด้านการศึกษา คนที่อ่านแล้วทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ก็อาจรู้น้อยใจ ก็ขอให้อย่าคิดเช่นนั้น “การศึกษากับสื่อมวลชน”เดินทางไปด้วยกันได้กันอย่างสบายมาก หากแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญที่จะพัฒนาอย่างจริงจัง ทำให้ถูกวิธี ครูก็มีส่วนปลูกฝั่งการศึกษาก็มีคุณภาพ ประชาชนก็มีประสิทธิภาพ ประเทศก็เจริญเติบโต สื่อมวลชน ก็ทำหน้าที่เป็น “ยามเฝ้าแผ่นดิน” เหมือนห่อหุ้มเกาะให้ประเทศชาติ ไม่ฟาดฟันกันเหมือน โดยเป็น “ดาบสองคม” ปัญหาที่เกิดก็น้อย และทุกคนก็มีคุณธรรมติดตัวรู้จักผิดชอบชั่วดีต่อตัวเองและสังคม